เมื่อกี้ตื่นเต้นมาก คุณไปรเวท นักจัดรายการวิทยุของ T.A.B. radio วิทยุชุมชนต้นแบบเพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางสื่อสิ่งพิมพ์ โทรมาสัมภาษณ์เราออกอากาศ เรื่อง Web Accessibility ตื่นเต้นมากมาย ไม่รู้ตอบรู้เรื่องบ้างหรือเปล่า (แอบสงสารคนฟัง)
ตั้งแต่ไปสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยมา เราก็พยายามจะศึกษาเรื่อง Web Accessibility ให้ได้มากๆ แล้วก็อ่าน Guideline ที่ W3C กำหนดไว้คือ Web Content Accessibility Guidelines (WCAG)
เราว่ามันก็ค่อนข้างจะยาก ในแง่รายละเอียดที่ต้องปรับจากเว็บที่ปกติเราเขียน คือ โดยปกติเราจะต้องคำนึงถึง
- การออกแบบให้สวยงาม
- เรื่อง Cross Browser Compatible
- การเขียนให้ได้มาตรฐาน W3C ไม่ว่าจะเป็น XHTML หรือ CSS
- จากนั้นคำนึงถึง SEO ซะส่วนใหญ่
แต่ตอนนี้มีสิ่งที่ต้องทำมากขึ้น เช่น การใส่ alt ลงไปใน IMG INPUT และ APPLET elements การใช้สีที่ปรับเปลี่ยนได้ การคำนึงถึงระดับการมองเห็น ฯลฯ
ก็อย่างที่คุณไปรเวท บอกว่า ถ้าทำได้ เราก็จะเก่ง
Web accessibility also covers making them accessible via the other sensory channels such as audio and touch. (I guess K.Priwate has told you already.) I have many friends who do research on this. Example could be hearing the graph tree and its branches and feeling the size and shape of things you are browsing via special equipments such as a tactile mouse.
I’m glad that experiences have made you a more caring person. We do need a lot more caring people in Thailand.